วันอังคารที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ปื่นโตกะลามะพร้าว

การทำกะลามะพร้าว

ประโยชน์ของกะลามะพร้าว

    











         เมื่อพูดถึงมะพร้าว เราจะพบว่า มะพร้าวมีประโยชน์มากมาย ทุกส่วนของมะพร้าวทำประโยชน์ได้ทั้งหมด โดยเฉพาะเนื้อมะพร้าว ที่มักนำไปทำเป็นขนม นำไปคั้นทำเป็นกะทิ แต่ก็ไม่ใช่เนื้อหรือน้ำเท่านั้น แม้แต่กะลามะพร้าว ถ้าเรามีหัวทางด้านศิลปอยู่บ้าง และสนใจที่จะทำเป็นอาชีพ ก็สามารถที่จะประดิษฐ์กะลาพร้าว ให้เป็นงานฝีมือต่างๆ เช่น ประดิษฐ์เป็นของประดับ,ทำเป็นกระปุ๊กออมสินรูปต่างๆ,ทำเป็นโมบายล์, ทำเป็นของชำร่วย และอื่นๆ ตามแต่ที่จินตนาการเลย ทำให้สร้างรายได้ ได้เป็นกรอบเป็นกำเลยทีเดียว เนื่องด้วยจากต้นทุนที่ต่ำมาก (กะลามะพร้าวทั่วไปหาได้ง่ายมาก หรืออาจจะไปซื้อมะพร้าวมาทำก็ได้เลย) เอาล่ะพล่ามมาพอแล้ว เรามาดูวิธีการทำกันดีกว่า

วัสดุ/อุปกรณ์
  1. กะลามะพร้าว
  2. มอเตอร์ที่ใส่ใบเลื่อยไฟฟ้า
  3. กระดาษทราย หยาบ ละเอียด
  4. ก้อนหินขัดมัน
  5. กาวร้อน
  6. หวาย
  7. ไม้ตาล

วิธีทำ 
  1. สั่งซื้อกะลามะพร้าว งานประดิษฐ์กะลามะพร้าวสามารถใช้กะลามะพร้าวได้ทุกชนิด โดยเฉพาะพันธ์พื้นเมืองที่มีขนาดเล็ก สามารถประดิษฐ์เป็นแก้วกาแฟ หรือแก้วไวน์ได้.  กะลามะพร้าวต้องขูดเอาเนื้อออกทั้งหมด (ให้เหลือแต่กะลาเปล่าๆ) 
  2. วาดรูปบนกะลาให้ตรงตามแบบที่ต้องการ และนำไปตัดด้วยมอร์เตอร์ติดเลื่อยไฟฟ้า ให้มีขนาดใกล้เคียงหรือถ้าเป็นเครื่องประดับต้องตัดให้พอดี
  3. หลังจากตัดแล้วให้เนามาขัดด้วยกระดาษทรายทั้ง 2 ด้าน สัก 4 ครั้ง (ประมาณ 4 ครั้ง จะได้กะลาที่ผิวเรียบกำลังดี)
    1. ขัดครั้ง แรก ใช้กระดาษทราย เบอร์ 60 ขัดจนกว่าเยื่อที่ยึดติดกับกะลาออกหมด
    2. ขัดครั้งที่ สอง ใช้กระดาษทรายเบอร์ 220
    3. ขัดครั้งที่ สาม ใช้กระดาษทรายเบอร์ 400
    4. ขัดครั้งที่ สี่ ใช้กระดาษทรายเบอร์ 600 กะลามะพร้าวจะเริ่มเรียบเป็นมัน
  4. นำมาขัดด้วยก้อนขัดมัน หรือก้อนยาขาว ซึ่งจะทำให้กะลามีผิวที่ลื่นและมันวับ ก่อนที่จะนำไปประกอบกับด้ามจับที่ทำจาก ไม้ตาล (ไม้ตาลต้องตัดให้เป็นรูปทรงที่ต้องการก่อน)
  5. ขัด ไม้ตาล ให้มันแบบเดียวกับกะลา (ใช้วิธีเดียวกัน) ให้ตอกหมุดยึดด้ามกับกะลา และใช้หวายถักปิดรอบบริเวณที่ตอกหมุด
  6.  ถ้าภาชนะไหนที่ไม่สามารถตอกหมุดได้ ให้ใช้กาวร้อนยึดติดกันแทน ก็จะเสร็จขั้นตอนการทำภาชนะจากกะลา หรือสามารถนำไปตกแต่งเพิ่มเติมทีหลังได้
แหล่งจำหน่าย/ตลาด/ลูกค้า
  1. สถานที่ท่องเที่ยว
  2. ร้านของที่ระรึก/ขายของฝาก
  3. ขายตามเทศกาลต่างๆ (งานวัด, ลอยกระทง, สงกรานต์ ฯลฯ)
คำแนะนำ
  • กะลามะพร้าวที่จะนำมาใช้เป็นงานประดิษฐ์ควรเป็นมะพร้าวพันพื้นเมือง เพราะหาซื้อได้ง่าย และกะลามะพร้าวยังมีความแข็งแรงทนทาน
  • กะลามะพร้าว สามารถแปรรูปเป็นสิ่งของต่างๆ ได้ง่าย และมีต้นทุนที่ต่ำมาก 

กะลามะพร้าวสร้างอาชีพ





      ประโยชน์ของมะพร้าวนั้นเรียกได้ว่าครบวงจรทุกส่วนของมะพร้าว สามารถนำมาใช้ได้หมด ไม่ว่าจะเป็นต้นหรือลูกโดยเฉพาะลูกมะพร้าวเมื่อใช้เนื้อและน้ำหมดแล้วลูกมะพร้าวสามารถ นำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์กะลามะพร้าวใช้ประโยชน์ได้เมื่อก่อนการนำกะลามะพร้าวมาทำ เป็นเครื่องใช้ในครัวเรือนมักจำกัดอยู่ในวงแคบๆคือคนที่อาศัยอยู่ตามชนบทแต่ปัจจุบันนี้ ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากกะลามะพร้าวได้รับการพัฒนาให้มีความหลากหลายมากขึ้น เช่นทำเป็น เครื่องประดับของชำร่วยฯลฯกะลามะพร้าวที่ประดิษฐ์แล้วจึงเป็นอีกผลิตภัณฑ์หนึ่งที่ได้รับ ความนิยมไม่น้อย
สร้างสรรค์งานจากกะลามะพร้าว
อุปกรณ์
    1. กะลามะพร้าว 
    2. มอเตอร์ที่ใส่ใบเลื่อยไฟฟ้า
    3. กระดาษทราย เบอร์ 60 เบอร์ 220 เบอร์ 400 และเบอร์ 600
    4. ก้อนขัดมัน หรือ ก้อนยาขาว
    5. ไม้ตาล
    6. หวาย
    7. กาวร้อน
ขั้นตอนการผลิต-วิธีการทำ
           1. เริ่มจากการสั่งซื้อกะลามะพร้าว (เป็นกะลามะพร้าวที่ถูกผ่าแกะเอาเนื้อมะพร้าวไปคั้นกะทิแล้ว) งานประดิษฐ์ประเภทนี้สามารถใช้กะลามะพร้าวได้ทุกชนิด โดยเฉพาะมะพร้าวพันธุ์พื้นเมืองที่มีขนาดเล็ก ผู้ประดิษฐ์สามารถนำมาทำเป็นแก้วกาแฟ หรือแก้วไวน์

          2. นำกะลามาวาดรูป และตัดกะลาออกเป็นรูปแบบต่างๆ ด้วยมอเตอร์ที่ใส่ใบเลื่อยไฟฟ้าให้มีลักษณะใกล้เคียงกับภาชนะที่จะทำ หรือหากผู้ประดิษฐ์จะทำเป็นประเภทเครื่องประดับ ควรตัดให้มีขนาดพอดี

          3. นำกะละมาขัดด้วยกระดาษทรายทั้งสองด้าน โดยขัดกระดาษทั้งหมด 4 ครั้ง

          4. ขัดครั้งแรก ใช้กระดาษทรายเบอร์ 60 ขัดไปจนเยื่อที่ติดกะลาออกหมด

          5. แล้วเปลี่ยนมาขัดเบอร์ 220 ตามด้วยกระดาษทรายเบอร์ 400

          6. จากนั้น ขัดด้วยกระดาษทรายเบอร์ 600 เมื่อผ่านขั้นตอนนี้ กะลามะพร้าวจะเริ่มเรียบเป็นมัน

          7. นำมาขัดด้วยก้อนขัดมันหรือก้อนยาขาวเป็นขั้นตอนสุดท้ายเพื่อให้กะลามีผิวลื่นมันวับ ก่อนจะนำไปประกอบกับด้ามที่ทำมาจาก"ไม้ตาล" (ไม้ตาลตัดให้เป็นรูปทรงตามที่ต้องการ)

          8. ขัดไม้ตาลให้มันด้วยวิธีการเดียวกันกับกะลา ตอกหมุดยึดด้ามกับกะลา ใช้หวายถักปิดรอยบริเวณตอกหมุด

          9. ภาชนะที่ไม่สามารถตอกหมุด    ใช้กาวร้อนยึดให้ติดกัน   เป็นอันเสร็จขั้นตอนการทำภาชนะจากกะลา หรือผู้ประดิษฐ์อาจจะตกแต่งสร้างสรรค์เพิ่มเติมภายหลังจากนั้นก็ได้
ข้อควรทราบการแปรรูปจากกะลา
          1. กะลามะพร้าวที่จะนำมาแปรรูปควรเป็นมะพร้าวพันธ์พื้นเมือง     นอกจากจะหาซื้อง่ายแล้ว กะลามะพร้าวยังมีความแข็งแรง ทนทาน
          2. กะลาสามารถนำมาแปรรูปเป็นสิ่งของต่างๆ ได้ง่าย และที่สำคัญ มีต้นทุนต่ำ

          กะลามะพร้าวสร้างอาชีพ เป็นการแนะนำวิธีการสร้างสรรค์กะลามะพร้าวให้กลายเป็นเครื่องประดับ หรือเครื่องใช้ คนที่สนใจสามารถนำไปศึกษาเป็นแนวทางก่อนก้าวสู่อาชีพนี้ สำหรับผู้ที่รู้จักใช้ประโยชน์จากสมองในการคิดค้นสิ่งรอบตัว สิ่งที่ดูเหมือนไร้ค่า ก็อาจสร้างเงินสร้างงานขึ้นได้


ที่มา : "แปรกะลาที่เคยไร้ค่า สร้างคุณค่าเพิ่มราคา". นิตยสารเส้นทางเศรษฐี. ปีที่ 7 ฉบับที่ 81 (พฤศจิกายน 2544) : หน้า 36 - 38 .

แบบสอบถามออนไลน์

แบบสอบถามออนไลน์

วันอังคารที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

เตือนภัย! ส่องกระจกในที่สาธารณะ



" เตือนภัย..!   กระจกโรงแรม+ห้องน้ำ+ห้องแต่งตัว " 


 รู้ไว้ ป้องกันไว้ ไม่เสียหายค่ะ :)

ให้ลองทำไว้ ป้องกันตัวเองไว้ก่อน ก่อนจะถอดเสื้อผ้าในสถานที่สาธารณะ
เคยคิดไหมว่ากระจกเงาในที่ต่างๆ...
เช่นห้องลองเสื้อ โรงแรม ห้องน้ำ อะไรพวกนี้
เป็นกระจกเงาปกติ หรือเป็นกระจกสองด้านที่มีคนเห็นอยู่ข้างหลังแต่คุณไม่เห็น
เค้าหรือเปล่า...

 วิธีทดสอบง่ายๆ 


เอานิ้วไปจิ้มที่กระจกที่จะทดสอบ ถ้าปลายนิ้วคุณชนกับรูปในกระจก แปลว่านั่นคือ
กระจกสองด้าน (ภาพ ซ้าย) นั่นแสดงว่าเขากำลังดูหนังสดๆ จากคุณ ถ้า "กระจกเงาปกติ"
จะมีช่องว่าง ระหว่างปลายนิ้วกับรูปในกระจก (ภาพขวา) จำใว้ว่า หากไม่มีช่องว่างระหว่าง
นิ้วที่จิ้มกระจก ออกจากตรงนั้นเลย มันคือกระจกสองด้านตรวจสอบทุกครั้งที่ไปห้อง
ลองเสื้อ ห้องน้ำ โรงแรม ไม่เสียหายป้องกันตนเองปลอดภัยไว้ก่อน



(ที่มา เฟซบุ๊ก ปุ๋ย วารี )